วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (18 สิงหาคม)







วันวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 8

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า " ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน"
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา ๙ เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401 ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่างๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"
ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet ) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
1.เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2.เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
3.เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
4.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
5.เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ในการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยจะทำพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลชมดอกเบญจมาศที่ญี่ปุ่น

เทศกาลชมดอกเบญจมาศที่ญี่ปุ่น

โชคดีที่ช่วงที่ไปนั้นยังเป็นช่วงของ เทศกาลชมดอกเบญจมาศ อีกด้วย ซึ่งดอกเบญจมาศนี้เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นเรียกดอกเบญจมาศว่า “คิคุ” เขามักจัดเทศกาลชมดอกเบญจมาศตามสวนสาธารณะ ตอนอยู่โตเกียวเห็นเขาเตรียมโชว์ที่ สวนชินจูกุ แต่คงยังไม่บานจึงมีม่านไม้ไผ่ปิดไว้ เราก็อุตส่าห์ไปลอดช่องดู ที่ถ่ายภาพมาได้คือจากการไปชมปราสาทฮิโรซากิ ซึ่งบริเวณรอบๆเขาทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ กว้างใหญ่ มีการโชว์ดอกเบญจมาศตั้งแต่จากทางเข้า เพิ่งเปิดเป็นวันแรกเลย









·เล่าเรื่องและให้ชมดอกเบญจมาศกันก่อน ด้วยหลายเหตุผล นอกจากจะสวยน่าชมแล้ว ดอกเบญจมาศยังเป็นดอกไม้แห่งเดือนพฤศจิกายนด้วย(1st in Flowers - Birth Month Flower of November - The Chrysanthemum - Flowers, Low Prices, Same Day Delivery) เมื่อค้นข้อมูลพบว่า ดอกเบญจมาศเกี่ยวข้องกับเมืองหังโจวอีกต่างหาก
ดอกเบญจมาศนั้น คนจีนเรียกว่า เก๊กฮวย โดยจะบานสวยงามในช่วงฤดูหนาว ปลูกกันมากที่เมืองหังโจวทางภาคใต้ของเซี่ยงไฮ้ เขาใช้ดอกเบญจมาศแห้งชงเป็นชา เรียกว่าชาหังเก๊ก คำว่า หังเก๊ก ก็คือดอกเก๊กฮวยเมืองหังโจวนั่นเอง(http://www.ocanihao.com/interest17.html)





· ดอกเบญจมาศในภาษาอังกฤษ คือ Chrysanthemums มาจากชื่อที่นักพฤกษศาสตร์ตั้งเป็นภาษากรีก คือ chrysous, แปลว่า golden หรือเป็นสีทอง ตามสีแต่ดั้งเดิม และ -anthemon, แปลว่า flower ปัจจุบันมีมากราวๆ 30 สายพันธุ์ และมีสีสันต่างๆ ญี่ปุ่นนั้นได้ดอกเบญจมาศไปจากประเทศจีนราวๆศตวรรษที่ 8 และ ถูกนำไปเผยแพร่ถึงยุโรป ในศตวรรษที่ 17

· ประโยชน์ของดอกเบญจมาศมีสารพัด

Ø อย่างแรกคือ เป็นไม้ประดับจากการที่มีรูปร่างและสีมากมาย แค่รูปทรงในการบาน ก็มีถึง 13 แบบ
Ø ชาวจีน และ เกาหลี นำดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีเหลืองและสีขาวมาชงเป็นชาและ ใบก็นำมาใช้แบบเป็นผักในการปรุงอาหาร
Ø เห็นสวยๆอย่างนี้ก็มีฤทธิ์นะ ก็เขาสกัด สารไพรีธริน pyrethrins จากเมล็ดในดอกเบญจมาศมาทำยาฆ่าแมลง สารนี้จะไปทำลายระบบประสาทของแมลงแทบทุกชนิด ซึ่งมีพิษต่อปลาด้วย แต่เป็นพิษน้อยมากต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก ในปริมาณน้อยๆก็ยังมีฤทธิ์ขับไล่แมลงได้ สารนี้ ย่อยสลายได้ง่ายเพียงแค่โดนแสง จึงนับว่าเป็นสารที่มนุษย์นำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Ø องค์การนาซ่ายังได้ทำการศึกษาในโครงการ NASA Clean Air Study พบว่าต้นเบญจมาศช่วยลดของเสียในอากาศในพื้นที่ภายในห้องได้

· ในแง่วัฒนธรรม บางประเทศในยุโรป (เช่น ฝรั่งเศส โปแลนด์ โครเอเชีย) เกาหลี และ ญี่ปุ่น ถือว่า ดอกเบญจมาศสีขาวนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย เขาจะใช้ในพิธีศพ จีน นั้นถือว่าเบญจมาศขาว เป็นสัญลักษณ์แห่งความโหยไห้ เศร้าโศก แต่บางประเทศกลับถือว่าเบญจมาศขาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ นานาจิตตังจริงๆ


· ญี่ปุ่นอาจจัดได้ว่าเป็นชาติที่ดอกเบญจมาศมีบทบาททางวัฒนธรรมอย่างยิ่ง ตราประจำองค์พระจักรพรรดิก็เป็นรูปดอกเบญจมาศสีทอง เรือรบมิกะซะก็มีดอกเบญจมาศสีทองเบ้อเริ่มที่หัวเรือ ที่เมือง Nihonmatsu ก็มีการจัดงาน "Nihonmatsu Chrysanthemum Dolls Exhibition" ทุกฤดูใบไม่ร่วง