โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมซึ่งผ่านขบวนการหมัก ทำให้มีรสเปรี้ยวและมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ซึ่งมีต้นกำเนิดแถวเทือกเขาคอเคซัสของรัสเซีย ในโยเกิร์ตจะประกอบด้วยแบคทีเรียหลักๆ 2 ชนิดด้วยกันคือ Streptococcus thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนนมให้เป็นโยเกริ์ต นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการเติมแบคทีเรีย Bifido และ Lactobacillus casei ในโยเกิร์ตเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารอีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของโยเกิร์ตนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตในโยเกิร์ตในขณะที่รับประทาน ดังนั้นขบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บ ตลอดจนการขนส่ง ล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพของโยเกิร์ต ถึงแม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนในการกำหนดคุณภาพของโยเกิร์ต แต่โยเกิร์ตที่ดีควรมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต 100 ถึง 1000 ล้านตัวต่อปริมาณโยเกิร์ต 1 มิลลิกรัม
กระเพาะอาหารจัดเป็นปราการสำคัญในการกำจัดเชื้อโรค เนื่องจากความเป็นกรดใรกระเพาะสามารถฆ่าแบคที่เรียหลายๆชนิดก่อนที่เชื้อโรคเหล่านี้จะผ่านไปยังลำไส้ แบคทีเรียในโยเกิร์ตก็เช่นเดียวกัน จะถูกทำลายไปจำนวนหนึ่งเมื่อผ่านไปที่กระเพาะอาหาร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรับประทานโยเกิร์ตในปริมาณที่มากพอ เพื่อให้แบคที่เรียที่มีประโยชน์เหล่านี้จำนวนหนึ่งเหลือรอดผ่านไปยังลำไส้ได้ อย่างไรก็ตามในลำไส้เองก็มีแบคทีเรียมากมายหลายประเภทอาศัยอยู่ บางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย บางชนิดไม่มีประโยชน์ เมื่อเรารับประทานโยเกริ์ต แบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ตจัดเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย แบคทีเรียเหล่านี้จึงไม่สามารถที่จะเกาะติดผนังลำไส้ได้ ดังนั้นจึงถูกขับออกจากลำไส้อย่างรวดเร็ว ในรูปของอุจจาระ
การรับประทานโยเกิร์ตให้ได้รับประโยชน์เต็มที่นั้นต้องรับประทานเป็นประจำและต้องเป็นปริมาณที่มากพอ เพื่อให้มีปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ปริมาณหนึ่ง เนื่องจากแบคทีเรียใน โยเกิร์ตจะถูกขับออกจากร่างกายในเวลาไม่นานนัก
โยเกิร์ตจัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท probiotics ซึ่งหมายถึงอาหารที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากสามารถปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภท probiotics นอกจากโยเกิร์ตแล้ว ยังได้แก่ นมเปรี้ยว ผักดอง คีเฟอร์
เหตุผล 10 ประการ ว่า ทำไมโยเกิร์ตถึงเป็นอาหารชั้นยอดของร่างกาย
1. โยเกิร์ตย่อยง่ายกว่านม แม้ในคนที่แพ้โปรตีนหรือไม่มีสามารถย่อยนมได้ ก็สามารถกินโยเกิร์ตได้ เนื่องจากในขบวนการทำโยเกิร์ต นมจะถูกหมักและเปลี่ยนเป็นโมเลกุลที่สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น และในขบวนการดังกล่าวจะเกิดแลคเตส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยนม (น้ำตาลแลคโตส) สำหรับคนที่ไม่สามารถสามารถย่อยนมได้จะขาดเอนไซม์ชนิดนี้ นอกจากนี้ในขบวนการหมักดังกล่าวจะจะเกิดเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนเคซีน ทำให้ง่ายต่อการดูดซึมและเกิดการแพ้น้อยลง จากการสังเกตเด็กที่ไม่สามารถย่อยนมได้ พบว่าสามารถกินโยเกิร์ตได้บ่อยครั้งโดยที่ไม่มีอาการท้องเสีย ในขบวนการทำโยเกิร์ต น้ำตาลนมแลคโตสจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกาแลคโตสและกลูโคส ซึ่งน้ำตาล 2 ชนิดนี้สามารถดูดซึมได้ง่ายแม้ในคนที่ไม่สามารถย่อยนมได้
2. โยเกิร์ตมีประโยชน์ต่อลำไส้ เนื่องจากในโยเกิร์ตประกอบด้วยแบคที่เรียแลคโตบาซิลัสที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ ตลอดจนช่วยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสโดยเฉพาะ Lactobaciillus acidophilus จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในลำไส้ใหญ่และช่วยลดการเปลี่ยนน้ำดีเป็นกรดน้ำดีซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง ปริมาณแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆที่บริเวณลำไส้ นอกจากนี้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้พวกนี้จะทำลายสารอันตรายต่างๆ เช่น สารไนเตรตและไนไตรท์ ก่อนที่สารเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างหนึ่ง
นอกจากโยเกริ์ต จะเป็นแหล่งของแบคทีเรียแล้ว ยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยยับยั้งการโตของเเซลล์ที่บุเยื่อบุลำไส้ที่มากจนเกินไปในบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้แคลเซียมยังรวมตัวกับกรดน้ำดีซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยไม่ระคายเคืองต่อลำไส้ใหญ่ การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาทิเช่นคนในแถบประเทศสแกนดิเนเวียนจะมีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ลดลง จากการศึกษาพบว่าการกินแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม สามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ 75 %
3. โยเกิร์ตช่วยทำให้การดูดซึมของแร่ธาตุต่างๆดีขึ้น ขบวนการหมักโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินบี นอกจากนี้กรดแลคติกในโยเกิร์ตยังช่วยย่อยแคลเซียมในนม ทำให้ดูดซึมง่ายขึ้น
4. โยเกิร์ตช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาพบว่าการบริโภคโยเกิร์ตวันละ 2 ถ้วยเป็นประจำ ตลอดเวลา 3 เดือนพบว่าระดับอินเตอร์เฟอรอนซึ่งเป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อโรค บางการศึกษารายงานว่าพบสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งในโยเกิร์ต
5. โยเกิร์ตช่วยในขบวนการหายหลังการติดเชื้อที่ทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสบางชนิด ตลอดจนอาการแพ้อาหารสามารถทำให้เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เสียหายได้โดยเฉพาะเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตแลคเตส จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการดูดซึมน้ำตาลแลคโตสชั่วคราว นี่คือเหตุผลว่าทำไมในเด็กที่มีโรคติดเชื้อบริเวณทางเดินอาหารจะไม่สามารถย่อยนมได้ตามปกติหลังจากติดเชื้อ 1-2 เดือน และเนื่องจากโยเกิร์ตประกอบด้วยน้ำตาลแลคโตสน้อยลง แต่มีเอนไซม์แลคเตสมากขึ้น ดังนั้นจึงนิยมใช้โยเกิร์ตเป็นอาหารเพื่อรักษาอาการท้องเสีย เพราะจะช่วยให้อาการท้องเสียหายเร็วขึ้น สำหรับบุคคลที่ได้รับยาปฏิชีวนะ การรับประทานโยเกริ์ตจะช่วยลดผลกระทบของยาต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ (เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นอันตราย แต่จะทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายด้วย) ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้กินโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วยในขณะที่ได้รับยาปฏิชีวนะ และรับประทานต่อเนื่องอีก 2 สัปดาห์หลังจากหยุดยาแล้ว จาการศึกษาในปี 1999 โดยกุมารแพทย์พบว่าแบคทีเรียแลคโตบาซลัสจะช่วยลดอาการท้องเสียหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ
6. โยเกิร์ตช่วยลดการติดเชื้อรา จากการศึกษาพบว่าการกินโยเกิร์ตวันละ 8 ออนซ์ทุกวันสามารถลดปริมาณเชื้อราที่ช่องคลอดได้ และยังช่วยลดการติดเชื้อราที่ช่องคลอดได้อีกด้วย
7. โยเกิร์ตเป็นแหล่งของแคลเซียม ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์จะมีแคลเซียมมากถึง 450 มิลลิกรัม (ปริมาณเท่ากับแคลเซียมครึ่งหนึ่งที่ RDA แนะนำให้เด็กได้รับภายใน 1 วัน , และเท่ากับ 30-40 % ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้ผู้ใหญ่บริโภคภายใน 1 วัน) และเนื่องจากแบคทีเรียในโยเกริ์ตจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้นการกินโยเกิร์ตจะช่วยให้คุณได้รับแคลเซียมมากกว่าการกินนมในปริมาณเท่ากัน
8. โยเกิร์ตเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 10-14 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับ 20 % ของความต้องการโปรตีนในแต่ละวัน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างนมกับโยเกิร์ตปริมาณเท่ากัน ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนปริมาณมากกว่า นอกจากโยเกิร์ตจะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว โปรตีนในโยเกิร์ตยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย
9. โยเกิร์ตช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล จากการศึกษาพบว่าโยเกิร์ตสามารถลดปริมาณคลอเลสเตอรอลได้เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตสามารถกำจัดคลอเลสเตอรอลได้ และทั้งนี้โยเกิร์ตก็สามารถรวมตัวกับกรดน้ำดีซึ่งเป็นสารตั้งต้นของคลอเลสเตอรอลได้
10. โยเกิร์ตช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากในโยเกิร์ตเป็นแหล่งของโปรตีนที่ย่อยง่ายและกรดแลคติคในโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแร่ธาตุเข้าผ่านลำไส้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตที่ดีที่สุดคือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ เนื่องจากประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญเพียง 2 อย่าง คือ เชื้อจุลินทรีย์และนม แต่ในโยเกิร์ตรสอื่นจะมีการปรับปรุงรสชาติให้หวานขึ้นด้วยการเติมน้ำตาล นั่นหมายถึงว่าคุณจะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มรสชาติให้กับโยเกิร์ตรสธรรมชาติของเราได้ด้วยการเติมผลไม้ต่างๆลงไปขณะรับประทาน)
2. ปริมาณแคลเซียม โยเกิร์ตที่ดีควรมีปริมาณแคลเซียม 35 – 40 % ต่อปริมาณที่แนะนำข้างถ้วยโยเกิร์ตขนาด 8 ออนซ์ และไม่ควรต่ำกว่า 30 %
3. ไม่ควรบริโภคโยเกิร์ตประภทที่ผ่านความร้อนหลังจากขบวนการทำโยเกิร์ตแล้ว ( จะเขียนไว้ข้างถ้วยว่า heat treated after culturing) เพราะโยเกิร์ตชนิดนี้จะถูกนำไปผ่านขบวนการพาสเจอไรซ์หลังจากที่เติมเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ซึ่งทำให้คุณค่าทางอาหารของโยเกิร์ตลดลงเนื่องจากการพาสเจอไรซ์จะทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์แลคเตส ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถย่อยนมได้ถึงแม้ว่าโยเกิร์ตชนิดจะเก็บได้นานกว่าโยเกิร์ตปกติ
แลคโตบาซิลัส- แบคทีเรียมหัศจรรย์
บริเวณลำไส้ใหญ่ของเรามีแบคทีเรียมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ และหนึ่งในแบคทีเรียทีเป็นประโยชน์แก่ร่างกายที่อาศัยอยู่บริเวณนี้คือ แบคทีเรียในกลุ่มแลคโตบาซิลัสซึ่งอาศัยน้ำตาลแลคโตสเป็นอาหาร และแบคทีเรียที่เรารู้จักกันดีคือ Lactobacillus acidophilus ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในภาวะเป็นกรดของลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้แบคทีเรียชนิดนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆต่อร่างกายของเรา ได้แก่
1. ช่วยในระบบการย่อยอาหาร เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์จำพวกนม ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่มีปริมาณแลคโตสมากเกินไปและช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในคนที่ไม่สามารถย่อยนมได้ แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้และช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหารที่เป็นกลไกตามธรรมชาติ ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น
2. สร้างวิตามิน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถสร้างวิตามินบีและวิตามินเค
3. สร้างสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย แบคทีเรียชนิดนี้จะช่วยสร้างกรดไขมันจำเป็นหรือกรดไขมันชนิดที่มีสายโมเลกุลสั้น ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อเซลล์บริเวณลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสารที่ช่วยต้านมะเร็งอีกด้วย
4. กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะยับยั้งการเติบโตของของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและเชื้อรา อาทิเช่น ราแคนดิดา เนื่องจากแบคทีเรียประเภทนี้จะทำให้บริเวณลำไส้มีสภาวะเป็นกรดซึ่งแบคทีเรียที่เป็นอันตรายไม่สามารถอยู่รอดได้ นอกจากนี้แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
5. ต้านสารก่อมะเร็ง แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถทำอันตรายกับเซลล์ร่างกายได้อีก และLactobacillus bulgaricusซึ่งเป็นแบคทีเรียที่นิยมเติมในโยเกิร์ตนั้นมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ดี นอกจากนี้แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังสามารถจับโลหะหนักและกรดน้ำดีซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ ตลอดจนสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ผลิตสารไนเตรต (ไนเตรตเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง) และแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังทำปฏิกิริยากับสารฟลาโวนอยด์ทำให้เกิดสารธรรมชาติที่สามารถต้านมะเร็งได้ดี
6. ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลและกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
การรับประทานโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้าจะช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากในโยเกิร์ตมีกรดอะมิโนไทโรซีนปริมาณสูงซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และมีกรดอะมิโนทริปโตเฟนซึ่งทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสงบในปริมาณน้อย การเติมน้ำมันเมล็ดปอ (ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อสมอง) หรือพวกถั่ว (เป็นแหล่งของโปรตีนและช่วยรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด) ลงในโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
คุณค่าทางอาหารของโยเกิร์ตนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตในโยเกิร์ตในขณะที่รับประทาน ดังนั้นขบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บ ตลอดจนการขนส่ง ล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพของโยเกิร์ต ถึงแม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนในการกำหนดคุณภาพของโยเกิร์ต แต่โยเกิร์ตที่ดีควรมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต 100 ถึง 1000 ล้านตัวต่อปริมาณโยเกิร์ต 1 มิลลิกรัม
กระเพาะอาหารจัดเป็นปราการสำคัญในการกำจัดเชื้อโรค เนื่องจากความเป็นกรดใรกระเพาะสามารถฆ่าแบคที่เรียหลายๆชนิดก่อนที่เชื้อโรคเหล่านี้จะผ่านไปยังลำไส้ แบคทีเรียในโยเกิร์ตก็เช่นเดียวกัน จะถูกทำลายไปจำนวนหนึ่งเมื่อผ่านไปที่กระเพาะอาหาร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรับประทานโยเกิร์ตในปริมาณที่มากพอ เพื่อให้แบคที่เรียที่มีประโยชน์เหล่านี้จำนวนหนึ่งเหลือรอดผ่านไปยังลำไส้ได้ อย่างไรก็ตามในลำไส้เองก็มีแบคทีเรียมากมายหลายประเภทอาศัยอยู่ บางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย บางชนิดไม่มีประโยชน์ เมื่อเรารับประทานโยเกริ์ต แบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ตจัดเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย แบคทีเรียเหล่านี้จึงไม่สามารถที่จะเกาะติดผนังลำไส้ได้ ดังนั้นจึงถูกขับออกจากลำไส้อย่างรวดเร็ว ในรูปของอุจจาระ
การรับประทานโยเกิร์ตให้ได้รับประโยชน์เต็มที่นั้นต้องรับประทานเป็นประจำและต้องเป็นปริมาณที่มากพอ เพื่อให้มีปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ปริมาณหนึ่ง เนื่องจากแบคทีเรียใน โยเกิร์ตจะถูกขับออกจากร่างกายในเวลาไม่นานนัก
โยเกิร์ตจัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท probiotics ซึ่งหมายถึงอาหารที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากสามารถปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภท probiotics นอกจากโยเกิร์ตแล้ว ยังได้แก่ นมเปรี้ยว ผักดอง คีเฟอร์
เหตุผล 10 ประการ ว่า ทำไมโยเกิร์ตถึงเป็นอาหารชั้นยอดของร่างกาย
1. โยเกิร์ตย่อยง่ายกว่านม แม้ในคนที่แพ้โปรตีนหรือไม่มีสามารถย่อยนมได้ ก็สามารถกินโยเกิร์ตได้ เนื่องจากในขบวนการทำโยเกิร์ต นมจะถูกหมักและเปลี่ยนเป็นโมเลกุลที่สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น และในขบวนการดังกล่าวจะเกิดแลคเตส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยนม (น้ำตาลแลคโตส) สำหรับคนที่ไม่สามารถสามารถย่อยนมได้จะขาดเอนไซม์ชนิดนี้ นอกจากนี้ในขบวนการหมักดังกล่าวจะจะเกิดเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนเคซีน ทำให้ง่ายต่อการดูดซึมและเกิดการแพ้น้อยลง จากการสังเกตเด็กที่ไม่สามารถย่อยนมได้ พบว่าสามารถกินโยเกิร์ตได้บ่อยครั้งโดยที่ไม่มีอาการท้องเสีย ในขบวนการทำโยเกิร์ต น้ำตาลนมแลคโตสจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกาแลคโตสและกลูโคส ซึ่งน้ำตาล 2 ชนิดนี้สามารถดูดซึมได้ง่ายแม้ในคนที่ไม่สามารถย่อยนมได้
2. โยเกิร์ตมีประโยชน์ต่อลำไส้ เนื่องจากในโยเกิร์ตประกอบด้วยแบคที่เรียแลคโตบาซิลัสที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ ตลอดจนช่วยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสโดยเฉพาะ Lactobaciillus acidophilus จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในลำไส้ใหญ่และช่วยลดการเปลี่ยนน้ำดีเป็นกรดน้ำดีซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง ปริมาณแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆที่บริเวณลำไส้ นอกจากนี้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้พวกนี้จะทำลายสารอันตรายต่างๆ เช่น สารไนเตรตและไนไตรท์ ก่อนที่สารเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างหนึ่ง
นอกจากโยเกริ์ต จะเป็นแหล่งของแบคทีเรียแล้ว ยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยยับยั้งการโตของเเซลล์ที่บุเยื่อบุลำไส้ที่มากจนเกินไปในบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้แคลเซียมยังรวมตัวกับกรดน้ำดีซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยไม่ระคายเคืองต่อลำไส้ใหญ่ การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาทิเช่นคนในแถบประเทศสแกนดิเนเวียนจะมีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ลดลง จากการศึกษาพบว่าการกินแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม สามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ 75 %
3. โยเกิร์ตช่วยทำให้การดูดซึมของแร่ธาตุต่างๆดีขึ้น ขบวนการหมักโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินบี นอกจากนี้กรดแลคติกในโยเกิร์ตยังช่วยย่อยแคลเซียมในนม ทำให้ดูดซึมง่ายขึ้น
4. โยเกิร์ตช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาพบว่าการบริโภคโยเกิร์ตวันละ 2 ถ้วยเป็นประจำ ตลอดเวลา 3 เดือนพบว่าระดับอินเตอร์เฟอรอนซึ่งเป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อโรค บางการศึกษารายงานว่าพบสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งในโยเกิร์ต
5. โยเกิร์ตช่วยในขบวนการหายหลังการติดเชื้อที่ทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสบางชนิด ตลอดจนอาการแพ้อาหารสามารถทำให้เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เสียหายได้โดยเฉพาะเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตแลคเตส จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการดูดซึมน้ำตาลแลคโตสชั่วคราว นี่คือเหตุผลว่าทำไมในเด็กที่มีโรคติดเชื้อบริเวณทางเดินอาหารจะไม่สามารถย่อยนมได้ตามปกติหลังจากติดเชื้อ 1-2 เดือน และเนื่องจากโยเกิร์ตประกอบด้วยน้ำตาลแลคโตสน้อยลง แต่มีเอนไซม์แลคเตสมากขึ้น ดังนั้นจึงนิยมใช้โยเกิร์ตเป็นอาหารเพื่อรักษาอาการท้องเสีย เพราะจะช่วยให้อาการท้องเสียหายเร็วขึ้น สำหรับบุคคลที่ได้รับยาปฏิชีวนะ การรับประทานโยเกริ์ตจะช่วยลดผลกระทบของยาต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ (เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นอันตราย แต่จะทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายด้วย) ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้กินโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วยในขณะที่ได้รับยาปฏิชีวนะ และรับประทานต่อเนื่องอีก 2 สัปดาห์หลังจากหยุดยาแล้ว จาการศึกษาในปี 1999 โดยกุมารแพทย์พบว่าแบคทีเรียแลคโตบาซลัสจะช่วยลดอาการท้องเสียหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ
6. โยเกิร์ตช่วยลดการติดเชื้อรา จากการศึกษาพบว่าการกินโยเกิร์ตวันละ 8 ออนซ์ทุกวันสามารถลดปริมาณเชื้อราที่ช่องคลอดได้ และยังช่วยลดการติดเชื้อราที่ช่องคลอดได้อีกด้วย
7. โยเกิร์ตเป็นแหล่งของแคลเซียม ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์จะมีแคลเซียมมากถึง 450 มิลลิกรัม (ปริมาณเท่ากับแคลเซียมครึ่งหนึ่งที่ RDA แนะนำให้เด็กได้รับภายใน 1 วัน , และเท่ากับ 30-40 % ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้ผู้ใหญ่บริโภคภายใน 1 วัน) และเนื่องจากแบคทีเรียในโยเกริ์ตจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้นการกินโยเกิร์ตจะช่วยให้คุณได้รับแคลเซียมมากกว่าการกินนมในปริมาณเท่ากัน
8. โยเกิร์ตเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 10-14 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับ 20 % ของความต้องการโปรตีนในแต่ละวัน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างนมกับโยเกิร์ตปริมาณเท่ากัน ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนปริมาณมากกว่า นอกจากโยเกิร์ตจะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว โปรตีนในโยเกิร์ตยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย
9. โยเกิร์ตช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล จากการศึกษาพบว่าโยเกิร์ตสามารถลดปริมาณคลอเลสเตอรอลได้เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตสามารถกำจัดคลอเลสเตอรอลได้ และทั้งนี้โยเกิร์ตก็สามารถรวมตัวกับกรดน้ำดีซึ่งเป็นสารตั้งต้นของคลอเลสเตอรอลได้
10. โยเกิร์ตช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากในโยเกิร์ตเป็นแหล่งของโปรตีนที่ย่อยง่ายและกรดแลคติคในโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแร่ธาตุเข้าผ่านลำไส้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตที่ดีที่สุดคือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ เนื่องจากประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญเพียง 2 อย่าง คือ เชื้อจุลินทรีย์และนม แต่ในโยเกิร์ตรสอื่นจะมีการปรับปรุงรสชาติให้หวานขึ้นด้วยการเติมน้ำตาล นั่นหมายถึงว่าคุณจะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มรสชาติให้กับโยเกิร์ตรสธรรมชาติของเราได้ด้วยการเติมผลไม้ต่างๆลงไปขณะรับประทาน)
2. ปริมาณแคลเซียม โยเกิร์ตที่ดีควรมีปริมาณแคลเซียม 35 – 40 % ต่อปริมาณที่แนะนำข้างถ้วยโยเกิร์ตขนาด 8 ออนซ์ และไม่ควรต่ำกว่า 30 %
3. ไม่ควรบริโภคโยเกิร์ตประภทที่ผ่านความร้อนหลังจากขบวนการทำโยเกิร์ตแล้ว ( จะเขียนไว้ข้างถ้วยว่า heat treated after culturing) เพราะโยเกิร์ตชนิดนี้จะถูกนำไปผ่านขบวนการพาสเจอไรซ์หลังจากที่เติมเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ซึ่งทำให้คุณค่าทางอาหารของโยเกิร์ตลดลงเนื่องจากการพาสเจอไรซ์จะทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์แลคเตส ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถย่อยนมได้ถึงแม้ว่าโยเกิร์ตชนิดจะเก็บได้นานกว่าโยเกิร์ตปกติ
แลคโตบาซิลัส- แบคทีเรียมหัศจรรย์
บริเวณลำไส้ใหญ่ของเรามีแบคทีเรียมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ และหนึ่งในแบคทีเรียทีเป็นประโยชน์แก่ร่างกายที่อาศัยอยู่บริเวณนี้คือ แบคทีเรียในกลุ่มแลคโตบาซิลัสซึ่งอาศัยน้ำตาลแลคโตสเป็นอาหาร และแบคทีเรียที่เรารู้จักกันดีคือ Lactobacillus acidophilus ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในภาวะเป็นกรดของลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้แบคทีเรียชนิดนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆต่อร่างกายของเรา ได้แก่
1. ช่วยในระบบการย่อยอาหาร เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์จำพวกนม ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่มีปริมาณแลคโตสมากเกินไปและช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในคนที่ไม่สามารถย่อยนมได้ แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้และช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหารที่เป็นกลไกตามธรรมชาติ ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น
2. สร้างวิตามิน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถสร้างวิตามินบีและวิตามินเค
3. สร้างสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย แบคทีเรียชนิดนี้จะช่วยสร้างกรดไขมันจำเป็นหรือกรดไขมันชนิดที่มีสายโมเลกุลสั้น ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อเซลล์บริเวณลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสารที่ช่วยต้านมะเร็งอีกด้วย
4. กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะยับยั้งการเติบโตของของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและเชื้อรา อาทิเช่น ราแคนดิดา เนื่องจากแบคทีเรียประเภทนี้จะทำให้บริเวณลำไส้มีสภาวะเป็นกรดซึ่งแบคทีเรียที่เป็นอันตรายไม่สามารถอยู่รอดได้ นอกจากนี้แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
5. ต้านสารก่อมะเร็ง แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถทำอันตรายกับเซลล์ร่างกายได้อีก และLactobacillus bulgaricusซึ่งเป็นแบคทีเรียที่นิยมเติมในโยเกิร์ตนั้นมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ดี นอกจากนี้แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังสามารถจับโลหะหนักและกรดน้ำดีซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ ตลอดจนสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ผลิตสารไนเตรต (ไนเตรตเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง) และแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังทำปฏิกิริยากับสารฟลาโวนอยด์ทำให้เกิดสารธรรมชาติที่สามารถต้านมะเร็งได้ดี
6. ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลและกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
การรับประทานโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้าจะช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากในโยเกิร์ตมีกรดอะมิโนไทโรซีนปริมาณสูงซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และมีกรดอะมิโนทริปโตเฟนซึ่งทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสงบในปริมาณน้อย การเติมน้ำมันเมล็ดปอ (ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อสมอง) หรือพวกถั่ว (เป็นแหล่งของโปรตีนและช่วยรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด) ลงในโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น